เสียงเพลงสามารถรักษาโรค

          การวิจัยในต่างประเทศพบว่า   โน้ตดนตรีบางตัวในคลื่นความถี่จำเพาะสามารถ
เปลี่ยนสีและขนาดของเซลล์เม็ดเลือดได้  เช่น  โน้ต A สามารถเปลี่ยนเม็ดเลือดจาก
สีแดงเป็นสีชมพูโน้ต C ทำให้เซลล์ยืดยาวขึ้น โน้ต E ทำให้รูปร่างเซลล์กล้ามขึ้น

         นอกจากโน้ตระหว่าง A-B ในคลื่นความถี่ประมาณ 400-480 Hz  สามารถทำ
ให้เซลล์มะเร็งแตกสลายได้       จึงได้มีการนำเอาเสียงดนตรีมาใช้ในการรักษาโรค
โดยเฉพาะโรคออทิซึ่ม เด็กที่เป็นโรคออทิซึ่มที่ไม่สามารถพูดจาสื่อสารได้  เมื่อเข้า
รับการรักษาโดยการใช้เสียงดนตรีประกอบกับแสงสี   คาดกันว่าคลื่นความถี่ตัวโน้ต
ดนตรีบางตัวจะมีคลื่นความถี่เดียวกันกับเซลล์บางตัว  หรือเซลล์บางชนิดในร่างกาย
เมื่อคลื่นความถี่บรรเลงเป็นคลื่นความถี่เดียวกัน  ร่างกายก็จะปรับสมดุลได้   เพลงที่
ใช้ควรเป็นดนตรีบรรเลง อาจเป็นเพลงคลาสิก    หรือเพลงบรรเลงแบบไทยเดิมก็ได้
นั่งฟังในห้องเงียบๆ ทำใจให้สบาย หายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ   แล้วในขณะที่ฟังเพลงให้
กำหนดจิตตามเสียงดนตรีไปจนสุด       การกำหนดจิตนี้ให้กำหนดตรงบริเวณตาที่ ๓
หรือบริเวณเหนือหัวคิ้วถ้าในเพลงมีเสียงฉิ่ง    คุณอาจจะใช้จิตตามเสียงฉิ่งไปจนสุด
เสียง  คุณจะสังเกตเห็นว่าเสียงฉิ่งมีคลื่นสั่นสะเทือน  ซึ่งจะดังอยู่เป็นเวลาพอสมควร
และคลื่นนี้จะมากระทบกับบางส่วนของร่างกายคุณทำให้คุณรู้สึกเจ็บบริเวณนั้น
          คุณอาจจะถามว่าจะตามเสียงเครื่องดนตรีชิ้นไหนดี ในเมื่อเพลงแต่ละเพลงมี
เสียงเครื่องดนตรีหลายชิ้น     อันนี้แล้วแต่คุณ    ถ้าคุณฟังดนตรีคุณจะเห็นว่าเครื่อง
ดนตรีทุกชิ้นจะบรรเลงเดียวกัน  คุณตามเสียงเพลงนั้นไป   แล้วอาจจะมีช่วงหนึ่งหรือ
บางช่วงที่มีเสียงดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งดังเด่นกว่าชิ้นอื่น     คุณก็ตามเสียงดนตรีชิ้นนั้น
ไปจนสุดเสียง  ตราบใดที่คุณทำใจให้สบาย   แล้วใช้จิตตามไป ไม่ต้องไปซีเรียสกับ
มันมาก คุณจะเริ่มสังเกตเห็นว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น คุณอาจจะ
รู้สึกว่ามีอะไรมากระทุ้งที่คอคุณเป็นจังหวะ      และมีความรู้สึกเหมือนคนกระหายน้ำ
หรือบางคนอาจจะมีความรูสึกว่ามีคลื่นสั่นสะเทือนอยู่บริเวณเท้า  บางคนอาจจะรู้สึก
โล่งโปร่งบริเวณศีรษะเหมือนกับว่าคลื่นพลังงานความเครียดได้ไหลออกจากศีรษะ

           ข้อสำคัญคือ การใช้จิตตามเสียงเพลงไป และเลือกเพลงที่เหมาะสม ถ้าคุณ
เลือกเพลงที่ถูกต้องเหมาะสม คุณสามารถใช้เสียงเพลงรักษาโรคให้ตัวเองได้ มีข้อ
แนะนำว่าผู้ที่ขาไม่ค่อยแข็งแรงควรเลือกดนตรีที่ค่อนข้างคึกคักหน่อย    และมีเสียง
จังหวะกลอง ดนตรีที่เหมาะสมกับจักระหัวใจมักจะเป็นเพลงรักหวานชื่น ฟังแล้วเกิด
ความรู้สึกโรแมนติก    ดนตรีที่เหมาะสมกับคนเครียดคือดนตรีที่ฟังแล้วมีความรู้สึก
โล่ง สมองปลอดโปร่ง  ถ้าฟังเพลงแล้วเกิดอาการเครียด  หนวกหู  กวนประสาท  ก็
แสดงว่าเสียงเหล่านั้นมีคลื่นที่ต่างจากคลื่นของคุณ

          การวิจัยในประเทศอังกฤษ โดยการใช้เสียงเพลง ของ โมสาร์ท (Mozart) เปิด
ให้นักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว และปัญหาด้านการเรียนรู้ฟังทุกวัน พบว่าเด็ก
เหล่านี้เรียนดีขึ้นมาก และตั้งใจเรียน  พฤติกรรมที่ก้าวร้าวก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
เสียงเพลงจึงน่าจะมีผลกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนเราด้วย

แหล่งที่มา
http://learn.chanpradit.ac.th/m32550/3.12_g1/Music%202.html